สำนักวิชาต่างจากคณะยังไง? - สำนักวิชาต่างจากคณะยังไง? นิยาย สำนักวิชาต่างจากคณะยังไง? : Dek-D.com - Writer

    สำนักวิชาต่างจากคณะยังไง?

    ผู้เข้าชมรวม

    294

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    294

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 ม.ค. 54 / 16:32 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    Credit:::: http://www.mfuzone.com/nboard/index.php?showtopic=13367
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      เมื่อกล่าวถึงมหาวิทยาลัย หลายคนจะคุ้นเคยกับกลุ่มองค์กรทางการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยที่เรียกกันติดปากว่า "คณะ" ซึ่งเป็นกลุ่มของหลักสูตรการศึกษาที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้เป็น หน่วยในการจัดกลุ่มหลักสูตรแต่ในปัจจุบันนั้น ในบางมหาวิทยาลัยได้ใช้ "สำนักวิชา" แทนคำว่าคณะในการจัดกลุ่มของหลักสูตร ซึ่งสำหรับบางคนที่ได้ยินหรือได้พบเห็น อาจคิดไปร้อยแปดพันเก้าว่า "แล้วมันต่างจากคณะอย่างไร" ในขณะที่บางคนก็คิดไปไกลถึงขนาดที่ว่า "มหาวิทยาลัยเค้าบ้าหนังจีนประเภทกำลังภายในหรือเปล่า" หรือบางคนก็เลยเถิดถึงขนาดที่ว่า "สำนักวิชาก็คือภาควิชาที่ยังไม่ได้รับการรับรองหลักสูตรให้เป็นคณะ" ว่ากันไปโน่นเลย วันนี้เราจะมาดูความหมายและความแตกต่าง ขององค์กรทางการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยทั้ง 2 องค์กรนี้กันครับ

      Wikipedia ได้ให้ความหมายของคำว่า คณะ และ สำนักวิชาไว้ดังนี้ครับ

      "คณะวิชา" หรือเรียกโดยย่อว่า "คณะ" เป็นองค์กรในสถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนและให้บริการความ รู้เกี่ยวกับวิชาการสาขาที่อยู่ในประเภทเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มีหัวหน้าองค์กรเรียก "คณบดี" บางแห่งเรียก "สำนักวิชา" "สาขาวิชา" หรือ "วิทยาลัย" แทน เช่น วิทยาลัยธุรกิจ

      จากบทความข้างต้น จะเห็นได้ว่าระหว่างคำว่า "สำนักวิชา"และคำว่า"คณะ"มีศักดิ์และสิทธิเท่าเทียมและเสมอภาคกัน ต่อไปเราจะมาอธิบายถึงความแตกต่างภายในของคำ 2 คำนี้กันนะครับ

      สำนักวิชา (Academic School) จะเป็นการจัดลำดับสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนที่คล้ายคลึงกันโดยไม่คำนึง ถึงชื่อของปริญญา โดยการจำแนกกลุ่มรูปแบบนี้ได้รับอิทธิพลจากระบบการศึกษาจากประเทศสหราช อาณาจักร ซึ่งผมขอยกตัวอย่าง "สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง" นะครับ

      สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีสาขาวิชาและชื่อของปริญญาดังนี้

      1. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (วทบ.การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)
      2. วิศวกรรมซอฟแวร์ (วทบ.วิศวกรรมซอฟแวร์)
      3. วิศวกรรมการสื่อสารและสารสนเทศ (วศบ.วิศวกรรมการสื่อสารและสารสนเทศ)
      4. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (วศบ.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
      5. เทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว (วทบ.เทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว)
      6. วิทยาการคอมพิวเตอร์ (วทบ.วิทยาการคอมพิวเตอร์)


      จะสังเกตได้ว่าจากการจัดกลุ่มดังกล่าว ในแต่ละสาขาวิชาจะมีระบบการเรียนการสอนที่คล้ายคลึงกัน แต่ชื่อของปริญญาที่จะได้รับนั้นต่างกัน


      คราวนี้เราจะมาดูองค์กรการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เรียกกันว่า "คณะ" กันบ้างครับ

      คณะ (Faculty) คือ การรวมเอาสาขาวิชาที่มีความเหมือนกัน ในแง่ของปริญญามารวมกันไว้ โดยที่การเรียนการสอนภายในสาขาวิชาแต่ละสาขานั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีความคล้ายคลึงกัน โดยการจำแนกกลุ่มในรูปแบบนี้ได้รับอิทธิพลจากระบบการศึกษาของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างให้ดู 2 มหาวิทยาลัยนะครับ

      คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีสาขาวิชาดังนี้

      1. วิศวกรรมโยธา (วศบ.วิศวกรรมโยธา)
      2. วิศวกรรมไฟฟ้า (วศบฺ.วิศวกรรมไฟฟ้า)
      3. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (วศบ.วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม)
      4. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (วศบ.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
      5. วิศวกรรมเหมืองแร่ (วศบ.วิศวกรรมเหมืองแร่)
      6. วิศวกรรมเครื่องกล (วศบ.วิศวกรรมเครื่องกล)
      7. วิศวกรรมอุตสาหการ (วศบ.วิศวกรรมอุตสาหการ)
      8. หลักสูตรโครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเกษตร (ยังไม่มีการกำหนดชื่อปริญญา)***
      *** อ้างอิงจากเว็ปไซค์ของภาควิชา

      คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

      1. วิศวกรรมไฟฟ้า (วศบ.วิศวกรรมไฟฟ้า)
      2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (วศบ.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
      3. วิศวกรรมอุตสาหการ (วศบ.วิศวกรรมอุตสาหการ)
      4. วิศวกรรมโยธา (วศบ.วิศวกรรมโยธา)
      5. วิศวกรรมเครื่องกล (วศบ.วิศวกรรมเครื่องกล)
      6. วิศวกรรมเคมี (วศบ.วิศวกรรมเคมี)

      จาก ตัวอย่างของมหาวิทยาลยที่ได้หยิบยกขึ้นมาทั้ง 2 แห่งนั้นจะสังเกตเห็นได้ว่า ในองค์กรทางการศึกษาที่เรียกว่า "คณะ" นั้น จะมีการจัดกลุ่มโดยอาศัยประเภทของปริญญาเป็นเกณฑ์ แต่การเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชานั้นอาจไม่คล้ายคลึงกันทั้งหมด

      -----------------------------------------------------------------------------------------------------------
      เปรียบเทียบ (Comparing)
      -----------------------------------------------------------------------------------------------------------


      คราวนี้เราจะมาเปรียบเทียบถึงความแตกต่างภายในระหว่าง "สำนักวิชา" กับ "คณะ" กันนะครับ

      จากตัวอย่างทั้งหมดที่ผมได้หยิบยกขึ้นมานั้น จะเห็นได้ว่ามีการจัดกลุ่มภายในองค์กรทางการศึกษาทั้ง 2 องค์กรแตกต่างกัน โดยที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้จัดให้สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ไปขึ้นตรง กับสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีการเรียนการสอนแต่ละหลักสูตรภายในสำนักวิชาที่คล้ายคลึงกัน แต่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ได้จัดให้วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ไปขึ้นตรงกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งการเรียนการสอนของหลักสูตรภายในคณะที่แตกต่างกัน เพียงแต่ใช้ประเภทของปริญญาในแต่ละหลักสูตรที่เหมือนกันเท่านั้น (คือ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต) นี่คือข้อแตกต่างระหว่างคำว่า "สำนักวิชา" กับคำว่า "คณะ" ครับผม

      มหาวิทยาลัยภายในประเทศไทยที่ใช้ "สำนักวิชา"

      1. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
      2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
      3. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
      4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (มีทั้งคณะกับอีก 1 สำนักวิชา คือ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา)
      5. มหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา

      สุด ท้ายนี้ไม่ว่ามหาวิทยาลัยจะเรียกองค์กรทางการศึกษาว่าอย่างไรหรือมีหลักสูตร รูปแบบใดนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ว่าคุณได้อะไรบ้างจากการที่คุณได้เข้าไปศึกษา ณ.มหาวิทยาลัย/หลักสูตรนั้นๆ และคุณได้จริงจังหรือเต็มที่กับการศึกษาเล่าเรียนหรือไม่ เพราะไม่ว่าคุณจะจบมาจากสถาบันใดหรือหลักสูตรใดก็ตาม หากคุณไม่นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์หรือคุณ นำความรู้ที่ได้นั้นมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน/การทำงานไม่ได้ แล้วใบปริญญาบัตรที่คุณได้รับมาจะมีความสำคัญอย่างไรกันเล่า


      -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
      ขออนุญาตเพิ่มเติมเนื้อหานะครับ
      -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

      วิทยาลัย

      อีกหนึ่งองค์กรทางการศึกษาในมหาวิทยาลัยอีกองค์กรหนึ่งคือ วิทยาลัย ซึ่ง Wikipedia ได้ให้ความหมายไว้ว่า

      วิทยาลัย (College) มีหลายความหมาย ความหมายหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในสังคมไทย หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะเฉพาะสาขาวิชา เช่น การจัดการ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ช่าง ดนตรี เป็นต้น

      การจัดการศึกษาของ วิทยาลัยนั้นอาจจะบริหารงานเป็นเอกเทศ เช่น วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า, วิทยาลัยโยนก, วิทยาลัยเทคนิคระนอง, และวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช หรือ เป็นหน่วยในสังกัดของมหาวิทยาลัย เช่น วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต, วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล,วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ,วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ และวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้

      อีกความ หมายหนึ่งของวิทยาลัยนั้น อาจจะหมายถึง สถานศึกษาทั่ว ๆ ไป เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หรือ ในชื่อภาษาอังกฤษของโรงเรียน เช่น อัสสัมชัญ (Assumption College) หรือ เซนต์คาเบรียล (St. Gabriel's College) เป็นต้น

      ที่มา : http://th.wikipedia....%B8%B1%E0%B8%A2


      แหล่งข้อมูล

      1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ >> http://www.engr.tu.ac.th/?edserv
      2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ >> http://eng.cmu.ac.th...student/tee.php
      3. สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง >> http://itschool.mfu....o...3&Itemid=30
      4. หลักสูตรโครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเกษตร >> http://eng.cmu.ac.th...tudent/tee8.php
      5. วิกิพีเดีย >> http://th.wikipedia.org/wiki/คณ...;ชา
      6. กระทู้ "สำนักวิชา่กับคณะต่างกันยังไง" eduzone.com >> learning.eduzones.com/mfufriends/11231



      ไหนๆก็จะมาเป็นลูกแดง-ทองด้วยกันแล้ว ควรเรียกให้ถูกนะครับ อย่าเรียกผิดเดี๋ยวพวกพี่ๆเค้างอนเอาไม่รู้นะครับ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×